การกำเนิดของมนุษย์
               ตามคัมภีร์ปฐมจินดา  กล่าวว่าธาตุทั้ง 4 อัน อุดมสมบูรณ์ในหญิงและชายถ้าได้ร่วมประเวณีกัน จะก่อให้เกิดมีการปฏิสนธิระหว่าง "สุขุมังปรมาณู"กับ " เลือดมารดาใน"ครรภ์(ไข่)"ผสมกัน("สุขุมังปรมาณู"คือสิ่งมีชีวิตซึ่งเล็ก ละเอียดสุดมีขนาดเท่ากับน้ำมันงาที่เหลือ อยู่บนขนจามรี" ซึ่งนำไปจุ่มในน้ำมันงาแล้วสลัดออก 7 ครั้ง หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง เชื้ออสุจินั่นเอง ) หลังผสมแล้วจะมีการเจริญเติบโตเกิดชัยเภท
·      ไชยเภท (คือ ระยะพลาสโตซิส) = ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตของไข่ที่ผสมแล้ว จะฟังตัวในมดลูก จะมีเลือดออกนิดหน่อยเป็น ฤดูล้างหน้า (หลังจากไข่ + สเปิร์ม ผสมกันแล้วและเดินทางมาฝังตัวในมดลูก 7 วัน)
ขึ้นตามลำดับดังนี้
·      หลังจากปฏิสนธิได้ 7 วัน ก้อนเลือดที่ผสมกันจะข้นเข้าเป็นน้ำล้างเนื้อ
·      หลังจากนั้นอีก 7 วัน                  ก้อนเลือดจะมีรูปร่างเปลี่ยนไป มีลักษณะเหมือนไข่งู
·       หลังจากนั้นอีก 7 วัน                 ก้อนเลือดจะมีปัญจะสาขา คือมี หัว มือ 2 ข้าง และเท้า 2 ข้าง
·      หลังจากนั้นอีก 7 วัน                  เกิดมี ผม ขน เล็บ และฟัน
·       เมื่อครบ 1 เดือน กับ 12 วัน        ก้อน เลือดจะเวียนเข้าเป็นตานกยูงเพื่อรับวิญญาณการเวียนของทารกเพศชาย และหญิงจะแตกต่าง ถ้าทารกเป็นเพศหญิงเลือดที่จะเวียนทางซ้าย หากทารกเป็นเพศชายเลือดจะ เวียนไปทางขวา
·       เมื่อครรภ์ครบ 3 เดือนแล้ว          เลือดจะไหลเข้าไปใน ปัญจะสาขา
·       เมื่อครรภ์ครบ 4 เดือน                ทารกจะมีอวัยวะครบ 32 ประการ โดยเริ่มจากมีหน้าผากก่อนแล้วค่อยพัฒนาไป เป็นรูปร่าง และ ร่างกายเหมือนมนุษย์ทั่วไป
·      ระหว่างทารกอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะนั่งขดตัว หันหน้าเข้าหากระดูกสันหลังของแม่ โดยกินอาหาร จากแม่ไปจนครบกำหนดคลอด
·      เมื่อถึงกำหนดคลอด       จะเกิด ลมกัมมัชชาวาต มาพัดพาให้ทารกกลับหัวลงเพื่อคลอดออกมาเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต(ขันธ์๕)คำอธิบายขันธ์๕   ชีวิต คือขันธ์ 5อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ขันธ์ 5      องค์ประกอบของขันธ์ 5 ขันธ์ มีองค์ประกอบอยู่ 5 อย่าง ดังต่อไปนี้
·      รูปขันธ์ รูปขันธ์ คือ กองแห่งธรรมชาติที่จะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น เช่น หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด ย่อมแตกสลายไป  รูป คือ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาบ้าง เห็นไม่ได้ด้วยตาบ้าง ซึ่งก็คือร่างกายและสิ่งที่อาศัย เกิดจากกาย รูปบางอย่างเป็นรูปทิพย์ มีความละเอียดมาก เห็นได้ด้วยตาทิพย์ เช่น รูปของเทวดา พรหม เป็นต้น  รูป หรือร่างกาย มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 อย่าง คือ รูป หมายถึง ส่วนประกอบฝ่าย
1.     (รูป)มหาภูตรูป 4 แปลว่า รูปที่เป็นใหญ่ปรากฏชัดเจน ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ลักษณะของธาตุทั้ง 4 คือ   
·      ธาตุดิน มีลักษณะ แข็ง 
·      ธาตุน้ำ มีลักษณะ ไหลหรือเกาะกุม 
·      ธาตุไฟ มีลักษณะ ร้อนและเย็น มี 5 อย่าง ได้แก่
         1. อุสฺมาเตโช มีประจำอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
         2. สนฺตปฺปนเตโช มีความร้อนมาก
         3. ทหนเตโช มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตได้
         4. ชิรณเตโช ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง
         5. ปาจกเตโช ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
·      ธาตุลม มีลักษณะ เคร่งตึงและเคลื่อนไหว มี 6 อย่าง ได้แก่
        1. อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน
        2. อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง
        3. กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่พัดอยู่ในช่องท้อง
        4. โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่พัดอยู่ในลำไส้ใหญ่
        5. องฺคมงฺคานุสารีวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย
        6. อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก ซึ่งลักษณะและหน้าที่ของธาตุ 4 ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องจตุธาตุววัตถาน
·      ใน มหาภูตรูป๔ ยังแบ่งหน้าที่ของร่างกายออกเป็น การสร้าง,ผลิตนำไปใช้,การขับถ่าย,และการแบ่งร่างกายเป็นกายภายนอก,กาย ภายใน,ส่วนเบื้องบนและเบื้องล่างทุกส่วนนั้นสัมพันธ์กันทั้งสั้นมีมัตถเก เป็นตัวสั่งงาน,มัตถลุงคังเป็นตัวถ่ายทอดไปร่างกายทุกส่วนและมีหทยังเป็นตัว ขับเคลื่อนให้อพัทธปิตตะไปหล่อเลี้ยงทั่วไปในร่างกาย(ในสุมนานที)
·      อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด(คุณสมบัติที่มีอยู่ในรูป) ถ้าไม่มีมหาภูตรูป อุปาทายรูปก็มีไม่ได้  อุปาทายรูป 24 ประกอบ ด้วย จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ปริจเฉทรูป รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา อุปจยรูป รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา แต่ละอย่างสามารถแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้ที่ปราศจากความรู้สึก สร้างขึ้นโดยมหาภูตรูปทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีปฐวีธาตุมากกว่า เรียกว่า กายประสาท
·      โคจรรูป หรือวิสยรูป 4 คือ รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอายตนะ ได้แก่
1. วัณณรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)
2. สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)
3. คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)
4. รสรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)
·      ภาวรูป 2 คือ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ ได้แก่
1. อิตถีภาวรูป คือ รูปที่แสดงถึงความเป็นหญิง
2. ปุริสภาวรูป คือ รูปที่แสดงถึงความเป็นชาย
·      หทยรูป 1 คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก
·      ชีวิตรูป 1 คือ รูปที่เป็นชีวิต ได้แก่ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม
·      อาหารรูป 1 คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร
·      ปริจเฉทรูป 1 คือ รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่ อากาสธาตุ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป
·      วิญญัติรูป 2 คือ รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย ได้แก่
1. กายวิญญัติรูป ได้แก่ การเคลื่อนไหวกาย
2. วจีวิญญัติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา
·      การรูป 3 คือ อาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ ได้แก่
1. ลหุตารูป ได้แก่ ความเบาแห่งรูป
2. มุทุตารูป ได้แก่ ความอ่อนสลวยแห่งรูป
3. กัมมัญญตารูป ได้แก่ ความควรแก่การงาน ความใช้การได้แห่งรูป
·      ลักขณรูป 4 คือ รูปที่เป็นลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด ได้แก่
1. อุปจยรูป คือ ความก่อตัวหรือเติบโตของรูป
2. สันตติรูป คือ ความสืบต่อแห่งรูป
3. ชรตารูป คือ ความทรุดโทรมแห่งรูป
4. อนิจจตารูป คือ ความปรวนแปรแตกสลายแห่งรูป
·      ปสาทรูป 5 คือ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ ได้แก่
1. จักขุปสาทรูป คือ ประสาทตา เป็นอวัยวะที่เห็นรูป เมื่อรูปกระทบอวัยวะนี้จะเกิดจักขุวิญญาณขึ้น จักขุปสาทที่อาศัยดวงตาซึ่งมีชิ้นเนื้อเล็กๆ 3 ชั้นอยู่รอบๆ ดวงตาดำและตาขาว และตาที่อยู่ในเนื้อเดียว 5 ชั้นของเนื้อ เลือด ลม เสมหะ และน้ำเหลือง จักขุปสาทมีขนาดเท่าเมล็ดฝิ่นครึ่งเมล็ด มีลักษณะคล้ายศีรษะเล็นสร้างขึ้นโดยธาตุ 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ซึ่งมีธาตุไฟมากกว่า เรียกว่า จักขุปสาท
2. โสตปสาทรูป คือ ประสาทหู เป็นอวัยวะที่ฟังเสียง เสียงเมื่อกระทบอวัยวะนี้จะเกิดโสตวิญญาณขึ้น โสตประสาทตั้งอยู่ภายในช่องหูทั้งสอง ที่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล อาศัยเยื่อแผ่นมีลักษณะคล้ายๆ ก้านเมล็ดถั่วเขียวซึ่งสร้างขึ้นด้วยธาตุ 4 ตามกรรมในอดีต และเป็นที่มีอากาศธาตุมากกว่า เรียกว่า โสตปสาท
3. ฆานปสาทรูป คือ ประสาทจมูก เป็นอวัยวะที่สูดดมกลิ่น เมื่อกลิ่นกระทบอวัยวะนี้จะเกิดฆานวิญญาณขึ้น ฆานประสาทตั้งอยู่ภายในจมูก มีลักษณะคล้ายดอกทองหลาง สร้างขึ้นโดยมหาภูตรูปทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีวาโยธาตุมากกว่า เรียกว่า ฆานปสาท
4. ชิวหาปสาทรูป คือ ประสาทลิ้น เป็นอวัยวะรู้รส เมื่อรสชาติต่างๆ กระทบกับอวัยวะนี้ จะเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น ชิวหาปสาทมีลักษณะคล้ายดอกอุบล ซึ่งตั้งอยู่ภายในชิ้นเนื้อของลิ้น สร้างขึ้นโดยธาตุทั้ง 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ในที่ที่มีอาโปธาตุมากกว่า เรียกว่า ชิวหาปสาท
5. กายปสาทรูป คือ ประสาทกาย เป็นอวัยวะที่รู้การกระทบสัมผัสด้วยอวัยวะนี้แล้วกายวิญญาณจึงเกิดขึ้น กายประสาทนี้ตั้งอยู่ทั่วๆ ไปในร่างกาย ยกเว้นที่ผม ขน เล็บ ฟัน และส่วนอื่นในร่างกาย  เมื่อมหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูปอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว มหาภูตรูป 4 จึงเกิดขึ้นเรียกว่า โสตปสาท
2.เวทนาขันธ์ หมายถึง การเสวยอารมณ์ การรับอารมณ์ การรู้อารมณ์เวทนาเมื่อแยกแบ่งได้ 3 อย่าง คือ
            1. สุขเวทนา เป็นความรู้สึกสุข คือ สบายกาย สบายใจ
            2. ทุกขเวทนา เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
            3. อทุกขมสุขเวทนา เป็นความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เฉยๆ
                เวทนาเกิดจากการที่มีวัตถุภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว ส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้แล้วจึงเกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมา เช่น มีรูปมากระทบ ประสาทตาส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ คือ เห็น เมื่อเห็นแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า รูปนี้สวย จึงเกิดความสบายใจ หรือไปเห็นสุนัขเน่า ทั้งตัว จึงไม่สบายใจ เป็นทุกข์ หรือเห็นคนที่หน้าตาธรรมดา จึงเกิดความรู้สึกเฉยๆ เมื่อมีเสียงมากระทบหู ประสาทหูส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า ได้ยิน เมื่อได้ยินแล้วก็อาจจะสุข เพราะว่าเสียงนั้นเป็นเสียงชม อาจจะทุกข์ เพราะว่าเป็นคำนินทา อาจจะเฉยๆ เพราะว่าไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องอะไร  เมื่อ มีกลิ่นมากระทบจมูก ประสาทจมูกส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า ได้กลิ่น เมื่อได้กลิ่นแล้วก็เกิดเวทนา เช่น ถ้าหอมก็เกิดความสบายใจ ถ้าเหม็นก็เกิดความทุกข์ หรือมีกลิ่นนิดๆ หน่อยๆ จึงไม่ได้รู้สึกอะไร เฉยๆ เมื่อรสมากระทบลิ้น ประสาทลิ้นก็ส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า ลิ้มรส เมื่อลิ้มรสก็เกิดเวทนาขึ้นทันที ถ้าอร่อยสุขเวทนาก็เกิดทันที ถ้าเผ็ดหรือขมปี๋ ทุกขเวทนาก็เกิดหรือไม่ก็เฉยๆ  เมื่อมีวัตถุมากระทบกาย ประสาทกายส่งให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เมื่อรับเอาไว้ก็เกิดเวทนาขึ้นมาว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง นิ่ง กระด้าง
3. สัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์ หมายถึง ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส เกิดขึ้นเพราะกลไกการทำงานของใจที่สามารถจำหรือบันทึกข้อมูลไว้ได้ ทั้งภาพ ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งสัมผัสทางกาย และบันทึกได้แม้กระทั่งอารมณ์ที่เกิดกับใจ พูดง่ายๆ ว่าเพราะใจมีกลไกในการจำ หรือบันทึกข้อมูลได้ จึงเกิดสัญญาความจำได้ หรือระลึกถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ที่ประสบมาได้
4. สังขารขันธ์ สังขารขันธ์ หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง คือ เมื่อรูปกระทบตา ประสาทตาก็รับเอาไว้ ก่อให้เกิดเวทนา การรับอารมณ์แล้วส่งไปให้ส่วนจำอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงส่งมาให้ส่วนที่ทำหน้าที่คิด ปรุงแต่งจิตให้คิดไปในเรื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
                 1. ความคิดดี เรียกว่า กุศลสังขาร
                  2. ความคิดชั่ว เรียกว่า อกุศลสังขาร
                  3. ความคิดไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ เรียกว่า อัพยากตสังขาร
           สังขาร ขันธ์มีความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์มาก เป็นตัวสำคัญในพวกเจตสิก เพราะมีอานุภาพปรุงแต่งให้คนเป็นไปได้ต่างๆ จิตของคนจะดีจะชั่วก็เพราะสังขารเป็นตัวปรุงแต่ง สังขารขันธ์มีดังนี้ คือ ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ชีวิตินทรีย์ การละนิวรณ์ อโลภะ อโทสะ หิริ โอตตัปปะ ปัสสัทธิ ฉันทะ อธิโมกข์ อุเบกขา มนสิการ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา โกสัชชะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และเจตสิกธรรมอื่นๆ ยกเว้นเวทนาและสัญญาแล้ว นอกจากนั้นเป็นสังขารขันธ์ เพราะเวทนาและสัญญาเป็นส่วนที่อยู่ในขันธ์ 5 เช่นเดียวกับสังขาร รวมความแล้วสังขารจะหมายถึงเฉพาะกิเลสและคุณธรรมทั้งปวง
5. วิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์ หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรับรู้เรื่องราว ต่างๆ ได้ คือ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง 6 ได้แก่ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน   วิญญาณมีอยู่ 2 อย่าง คือ วิญญาณธาตุ และวิญญาณขันธ์
·      วิญญาณธาตุ หมายถึง จิต     
·      วิญญาณขันธ์ หมายถึง อาการของจิต   ดังนั้น วิญญาณในขันธ์ 5 จึงหมายถึง การรับรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีอยู่ 6 อย่าง เรียกชื่อตามช่องทางที่ผ่านเข้ามาดังนี้
1. รู้รูปโดยอาศัยตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ
2. รู้เสียงโดยอาศัยหู เรียกว่า โสตวิญญาณ
3. รู้กลิ่นโดยอาศัยจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ
4. รู้รสโดยอาศัยลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
5. รู้สัมผัสโดยอาศัยกาย เรียกว่า กายวิญญาณ
6. รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ เรียกว่า มโนวิญญาณ
อธิบาย สมุฎฐานมหาภูตรูปสี่        ความเข้าใจเรื่องธาตุในร่างกาย มนุษย์เรามีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ สี่อย่างในร่างกาย รวมเรียกว่า "มหาภูตรูปสี่"แต่ละธาตุมีระบบการทำงานสำคัญอย่างละสาม เวลากล่าวถึงเรื่องเช่นนี้ ทางแผนโบราณเรียกว่า "มหาภูตรูปสี่ ละสาม ละสาม" ถ้าเราพอเข้าใจสิ่งเหล่านี้บ้าง ก็จะเข้าใจร่างกายเรามากขึ้น   
ธาตุดิน 20 อย่าง คืออวัยวะหลัก หรืออวัยวะธาตุ มีหน้าที่ต่างกันเช่น   
อธิบาย สมุฎฐานมหาภูตรูปสี่        ความเข้าใจเรื่องธาตุในร่างกาย มนุษย์เรามีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ สี่อย่างในร่างกาย รวมเรียกว่า "มหาภูตรูปสี่"แต่ละธาตุมีระบบการทำงานสำคัญอย่างละสาม เวลากล่าวถึงเรื่องเช่นนี้ ทางแผนโบราณเรียกว่า "มหาภูตรูปสี่ ละสาม ละสาม" ถ้าเราพอเข้าใจสิ่งเหล่านี้บ้าง ก็จะเข้าใจร่างกายเรามากขึ้น   
ธาตุดิน 20 อย่าง คืออวัยวะหลัก หรืออวัยวะธาตุ มีหน้าที่ต่างกันเช่น  
·      หัวใจ ตับ ปอด ม้าม ไต อวัยวะสำคัญหน้าที่ก็สำคัญ เป็นกายภายใน
·      เนื้อ หนัง เส้นผม เส้นขน ปกปิดร่างกาย ห่อหุ้มป้องกันอวัยวะต่างๆ กระดูก เส้นเอ็น พังผืด เล็บ โครงสร้างร่างกาย การเคลื่อนไหว เป็นกายภายนอก
·      ฟัน ไส้เล็กกระเพาะ ลำไส้ใหญ่ ระบบทางเดินและย่อยอาหาร
·      มัตถเกมัตถลุงคัง คือสมอง ระบบประสาท
·      ระบบสำคัญ 3 ประการของธาตุดิน คือ(ทำงานสัมพันธ์กับธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ตามลำดับ
·      หทัยวัตถุ ระบบการทำงานอัตโนมัติ สูบฉีดโลหิตหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
·      กรีสะ  อาหารใหม่,อาหารเก่า,กะลี หมายถึง อาหารใหม่ที่แยกย่อยแล้ว  มีสิ่งต่างๆที่เราต้องการมาปรุงแต่งให้สมดุลแล้วนำไปเลี้ยงร่างกาย  สัง หมายถึง อาหารเก่าที่ไม่ใช้แล้ว จะถูกผลักดันลงทางทวาร     กวลิงการาหาร,ที่ เรากินเข้าไป ผ่านการย่อยได้สารอาหาร อยู่ในกระแสเลือดส่งเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย กากอาหาร ของเหลือใช้ ของเสีย สิ่งที่ร่างกายขับออก ตัวชี้วัดความแปรเปลี่ยนของธาตุดินในร่างกาย
·      อุทริยัง   แยกเป็น อุท หมายถึง หูรูด ช่องทางที่ทำให้เปิด,ปิดได้  ริยัง หมายถึง เจ้าของทวารคือลมสุนทรวาต ผู้คอยผลักดันมูตร คูถออกสู่ภายนอก
ธาตุน้ำ 12 อย่าง นับเป็นอวัยวะธาตุแม้จะมีสภาพเป็นของเหลว เพราะซึมแทรกอยู่ในโครงสร้างของอวัยวะหลักทั่วร่างกาย ช่วยเหลือควบคู่กับการทำงานของอวัยวะหลัก สร้างความยืดหยุ่น ถ่ายเทอุณหภูมิของอวัยวะและร่างกายภายใน และภายนอก
·      น้ำเลือด น้ำเหลือง หล่อเลี้ยงอวัยวะ นำพาสารอาหารสารเคมี ขับเชื้อโรค ในร่างกาย
·      น้ำลาย น้ำดี ช่วยการเดินทางของอาหาร ช่วยย่อย ในระบบย่อยอาหาร
·      น้ำตา น้ำเหงื่อ น้ำมูตร ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
·      มันข้น มันเหลว ให้ความอบอุ่น ลดแรงกระแทกให้ร่างกาย
·      เสมหะทั้ง 3 คือระบบสำคัญของธาตุน้ำ(ทำงานสัมพันธ์กับ กรีสะ ของธาตุดิน)
·      ศอเสมหะ เสมหะส่วนบนของร่างกาย ตั้งแต่บริเวณลำคอถึงศีรษะ,อุระเสมหะ คือเสมหะที่มีอยู่บริเวณกลางลำตัว,คูถเสมหะ เสมหะในร่างกายที่อยู่ช่องท้องส่วนล่าง ระบบสำคัญของธาตุน้ำ

ธาตุลม 6 อย่าง ไม่ใช่ลมพัดไปมาตามธรรมชาติ แต่เป็นพลังงานกลที่เกิดจากอวัยวะเราเคลื่อนไหว หดบีบคลายตัว เกิดจากอุณหภูมิ  ที่เปลี่ยนแปลงเพราะปฏิกริยาเคมีในร่างกาย ช่วยการเคลื่อนที่ของอาหาร หรือขับดันของเสียออกไป เป็นต้น
·      อุทธัง และอโธคมาวาตา ลมหรือกระแสประสาทควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนบนและส่วนล่างตามลำดับ
·      กุจฉิ และโกฎฐาสยาวาตา ลมในช่องท้องและในกระเพาะลำไส้ สัมพันธ์กับระบบย่อยและลำเลียงอาหาร,กากอาหาร
·      อังคมังคานุสารีวาตา ลมหรือกระแสประสาทเชื่อมการทำงานของอวัยวะ ส่งผ่านการรับรู้และตอบสนองระหว่างอวัยวะกับสมอง
·      อัสสาสะปัสสาสะ ลมหายใจเข้าออก เมื่อขาดก็คือตาย
·      เราเรียกการทำงานของลมว่า"วาตะ"(ทั้งสามระบบทำงานสัมพันธ์กับหทัยวัตถุ ของธาตุดิน)หทัยวาตะ ,สัตถกวาตะ ,สุมนาวาตะ

ธาตุไฟ 4 อย่าง ตีความว่าเป็นพลังงานความร้อน ปฏิกริยาเคมีในร่างกายที่เผาผลาญเพื่อย่อยอาหาร ทำลายสิ่งแปลกปลอม เปลี่ยนถ่ายเซลล์เนื้อ เยื่อในร่างกาย ตลอดจนควบคุมการอุณหภูมิของร่างกาย
·      ไฟชื่อสันตัปปัคคี   คอยปรับอุณหภูมิภายในร่างกายเราไว้ ในขณะที่ภายนอกอุณหภูมิสูง
·      ไฟปริณามัคคี       ปฏิกริยาเคมีที่ทำงานในการเผาผลาญอาหาร
·      ไฟชิรณัคคี     เปลี่ยนถ่ายเซลล์,เนื้อเยื่อที่เสื่อมตายไป แล้วช่วยสร้างใหม่ทดแทน ทำลายสิ่งแปลกปลอม
·      ไฟปริทัยหัคคี   แสดงออกของสภาวะด้านจิตใจ ร้อนรุ่มกลุ้มใจ ระส่ำระสาย
·      ตัวคุมธาตุไฟ    พัทธปิตตะ     อพัทธปิตตะ      กำเดา
·      หากระบบย่อยอาหารบกพร่อง เมื่อเรากินอาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องอืดแน่น จุกเสียด ความร้อนในร่างกายสูง ใจสั่น ปวดท้องหน้ามืด ต่อด้วย อาการท้องผูกในที่สุด เป็นอาการเจ็บป่วยที่อธิบายได้ด้วย สมุฎฐานมหาภูตรูปสี่ ละสาม ละสาม
·      เมื่ออาหารใหม่เข้ามา ไฟปริณามัคคีผิดปกติ ทั้งพัทธะ,อพัทธะหย่อนให้กำเดากำเริบพุ่งพล่าน กระทบต่อสันตัปปัคคี เสีย ถึง หทัยวาตะ ต่อเนื่องไปยังสัตถกะและสุมนาวาตะ เมื่อระบบการทำงานในช่องท้องเสียไป กรีสะและเสมหะทั้งหลายก็ผิดไปด้วย ด้วยเหตุเพราะปริณามัคคีเผาผลาญจนกำเดากำเริบ ให้ภายในเหือดแห้งไปถึงกรีสะจนแข็งกระด้าง
·      กองธาตุสมุฎฐาน ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ โบราณเรียกว่ากองธาตุสมุฎฐาน,ปถวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ และเตโชธาตุ
·        อวัยวะทั้งหลายคือธาตุดินทั้ง 20 มีเกศา เป็นต้นและมัตถเกมัตถลุงคัง เป็นที่สุด อวัยวะเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของโรคเมื่อเราเจ็บป่วย
·        ของเหลวทั้งหลาย 12 อย่างคือธาตุน้ำ มีปิตตะเป็นต้น มูตตังเป็นที่สุด เป็นอวัยวะธาตุที่เปรียบดังพลังงานเคมีในร่างกาย
·        พลังงานกลเปรียบได้กับธาตุลมทั้ง 6 ขับเคลื่อนธาตุต่างๆในร่างกาย มีอังคมังคานุสารีวาตาและอัสสาสะปัสสาสะวาตาเป็นสำคัญ
·        ธาตุไฟทั้ง 4 คือพลังงานความร้อนในร่างกาย มีไฟอุ่นกาย สันตัปปัคคีเป็นตัวชี้ความเป็นตายของชีวิต
·        กองธาตุทั้งสี่นี้อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันตั้งอยู่ในร่างกาย หากธาตุใดผิดไปจากที่ควรเป็น,จะกำเริบ หย่อน หรือพิการ,ก็ เรียกว่าธาตุขาดความสมดุล ความเจ็บป่วยก็บังเกิดขึ้นได้ จะเป็นที่ใดนั้นขึ้นอยู่กับธาตุใดเป็นเหตุเบื้องต้น เรียกว่า สมุฎฐานโรค มี สมุฎฐานสาม คือปิตตะ วาตะ เสมหะ คือ ลม ดี เสลด เป็นสาเหตุสำคัญ หาก สมุฎฐานใด,หนึ่งในสามธาตุนี้ผิดปกติไป ก็กระทบกับธาตุสมุฎฐานทั้งสองแล้วกระทบต่อธาตุดินในที่สุด     เช่น เมื่อเราอดอาหาร กรดทั้งหลายก็ย่อยเนื้อเยื่อกระเพาะจนเป็นบาดแผล เกิดจุกเสียดแน่นปวดท้องโลหิตตก แม้นำเลือดน้ำเหลืองจะเยียวยาแผลนั้นก็ไม่หาย เช่นนี้เท่ากับว่าอาการโรคได้กระทบต่อธาตุดิน คือกระเพาะอาหารของเราแล้ว เป็นต้น   เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่า เราเจ็บป่วยเพราะธาตุในร่างกายนั้นเสียสมดุลย์ ก็ขอให้ลำดับให้ได้ว่า "ธาตุ ใดเสียสมดุลย์ก่อน แล้วจึงกระทบต่อธาตุอื่น จนมีผลต่อธาตุดินคืออวัยวะของเรา" เพื่อวินิจฉัยวิเคราะห์หาทางแก้ได้ถูกกับอาการของโรค จะให้เข้าใจหลักพระคัมภีร์แพทย์แผนโบราณด้วยเหตุง่ายๆว่า ความไม่สมดุลย์มักเกิดขึ้นเพราะเหตุสำคัญ 2 ลักษณะ คือ     การกินอย่างหนึ่ง กับพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง รวมเรียกว่ามูลเหตุของการเกิดโรค 8 ประการคือ
§  อาหาร เพราะไม่ระมัดระวังในการบริโภค
§  อิริยาบถ อยู่ในอิริยาบถใดๆ,นั่ง นอน ยืน เดิน,มากเกินควร
§  อุณหภูมิ ต้องร้อนต้องเย็นมากเกินไป เปลี่ยนอุณหภูมิเร็วเกินไป
§  อด,ทรมาน อดนอน อดข้าว อดน้ำ   กลั้น อุจจาระ,ปัสสาวะ
§  ทำงานเกินกำลัง หักโหม เช่น ตรากตรำทำงานมากเกินกำลังกาย ออกกำลังกายมากเกินกำลัง
§  เต็มไปด้วยความทุกข์ เศร้าโศก เสียใจ
§  เป็นผู้ที่มีโทสะอยู่เสมอ จึงขาดสติ
           ในส่วนของการบริโภค มีผลต่อการเกิดโรคทันทีทันใด เกิดได้กับทุกคน เกิดวันละร้อยหนพันหน
กินอาหารแปลก หรือกินมากเกินกำลังธาตุ เช่นของดิบ คาว มัน หมักดอง บูดเน่า ทำให้เกิดโรคอุจจาระธาตุ    หาก กินไม่ปกติ มากไป น้อยไป กินผิดเวลา กินของดิบ เน่า บูด ของหยาบ กินแต่เนื้อ บ้างก็ถูกร้อนมากถูกเย็นมากเกินไป ทำให้ ธาตุลมแปรปรวนจนโลหิตร้อนเป็นไฟ กระทบต่อธาตุดินและธาตุน้ำ คือธาตุ     ทั้ง 32 สิ่งจนพิกลพิการไป     การ กินที่ไม่เหมาะสม มีผลต่อธาตุในร่างกาย มีผลต่อสุขภาพของเรา สิ่งที่เรากินเข้าไปเรียกอาหารธาตุ ซึ่งให้สารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย คงเหลือส่วนที่ร่างกายขับออกมาคือมละธาตุ  ลองเริ่มต้นจากการทำความรู้จักกับอาหารในอีกมิติหนึ่ง อาหารทั้งหลาย แยกได้เป็น 2 ประเภทคือ อาหารกาย และอาหารใจ
อาหารกาย / กายิกโรค คือ
  • กวลิงการาหาร ของแข็ง เหลว เป็นลมอากาศ หากกินถูกก็บำรุงธาตุ กินผิดขับออกไม่หมดเกิดโทษ
อาหารใจ / จิต,เจตสิกโรค คือ
  • ผัสสาหาร สิ่งที่ร่างกายเรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วตอบสนองแตกต่างกัน
  • มโนสัญเจตนาหาร ความต้องการ ความอยากได้ มีผลด้านจิตใจ ผิดหวัง สมหวัง
  • วิญญาณหาร จิตใต้สำนึกของเราเป็นตัวกระตุ้น




This entry was posted on 16:06 and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 ความคิดเห็น: