เส้นประธาน 10
เส้นประธานสิบ เป็นเส้นที่มีการปรากฏอาการและอาการลมต่างๆ รวมทั้งการวินิจฉัย อาการและการกดนวด เพื่อบำบัดอาการ และเป็นเส้นสมมุติ มีการกระจายไปตามส่วนต่างๆของร่างกายลักษณะและคุณลักษณะเส้นประธานสิบ
* เป็นเส้นขออยู่บริเวณท้องรอบสะดือ
* อยู่ลึกลงไปในกล้ามเนื้อ บริเวณท้อง ประมาณ 2 นิ้ว แล้วแต่ความหนาของกล้ามเนื้อ หน้าท้อง
* เส้นแล่นขดกระหวัด กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
* เส้นแต่ละเส้นแล่นไปตามแนวของแต่ละเส้นอย่างมีระเบียบ
* เส้นแต่ละเส้นมีแนวเส้นร่วมของแต่ละเส้นกระจายอยู่ทั่วร่างกาย
* เส้นร่วมของเส้นประธานสิบ มีส่วน ที่เกี่ยวกระหวัดกัน
* เส้นประธานสิบแต่ละเส้น มีคุณลักษณะ เป็นเส้นที่สำคัญ กับระบบอวัยวะภายในร่างกาย ตามแต่ส่วนสัมพันธ์ของแต่ละเส้น
* เส้นประธานสิบแต่ละเส้น มีคุณลักษณะ เป็นเส้นประจำธาตุของร่างกาย ( ใช้เพื่อการกดนวด บำบัด อาการและอาการของลมบางอาการ โดยต้องใช้หลักการวินิจฉัย ธาตุสมุฎฐาน คือวินิจฉัยจากอาการ และสมมุติฐานหนึ่ง )
* เส้นประธานสิบแต่ละเส้น มีลมแล่นอยู่ประจำเส้น
* เส้นประธานสิบเป็นเส้นประจำฤดูกาล ( ใช้กรณีต้องการใช้การวินิจฉัยฤดูสมุฎฐาน คือวินิจฉัย ตามเหตุของอาการ และสมมุติฐานหนึ่ง)
เส้นอิทา
1.1 จากตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาเวชกรรม เล่ม3 (1) กล่าวถึงเส้นอิทาว่าตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 2 นิ้ว เยื้องซ้าย 1 นิ้ว และอยู่ลึกลงไป 2 นิ้วแล่นไปที่ต้นขาด้านซ้ายถึงเข่า แล้ววกกลับมาต้นขาด้านหลัง แล่นขึ้นแนบกระดูกสันหลังซ้าย ถึงคอ ถึงศีรษะ แล้ววกกลับมาริมจมูกซ้าย ลมประจำ เรียกว่า ลมจันทรกะลา1.2 อาจารย์ รัตติยา จินเดหวา(2) ได้กล่าวถึงเส้นอิทา ว่ามีตำแหน่งอยู่ห่างจากข้างซ้ายของสะดือประมาณ 1 นิ้ว และอยู่ลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวเส้นแล่นออกไปดังนี้
- แล่นลงไปที่บริเวณ หัวเหน่า
- ผ่านลงมาต้นขาด้านใน แล่นลงไปที่บริเวณเหนือ ข้อกระดูก เข่าด้านใน แล่นเข้าไปในใต้พับข้อเข่า
- แล่นขึ้นกลับมา ที่เหนือข้อกระดูก ด้านนอก แล่นขึ้นจากต้นขาซ้ายด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านเข้าไปในตะโพกด้านซ้าย
- แล่นขึ้นไปข้างแนวกระดูกสันหลัง บริเวณระดับเอว ( ชิดกระดูกสันหลัง ส่วนที่แหลม ข้าง ระหว่างกระดูกเอว ชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2)
- แล่นขึ้นแนบแนวกระดูกสันหลัง ด้านซ้าย แล่นต่อเนื่อง ขึ้นไปข้างกระดูกคอ ขึ้นตลอดไปบนศีรษะ
- วกกลับลงมาผ่าน บริเวณหน้าผาก เข้าไปในจมูกข้างซ้าย
- เมื่อ
เส้นอิทาผิดปกติเกิดโทษ จะมีอาการทั่วไปดังนี้ ปวดศีรษะ เป็นอย่างมาก
ตามืดมัว ชักปากเบี้ยว เจ็บสันหลัง บางครั้งมีกำเดาและลมระคนกัน เกิดโทษสอง
(
ทุวันโทษ)มีอาการเรียกลมปะกังจะทำให้ตัวร้อนวิงเวียนหน้าตาบางครั้งเป็น
สันนิบาต เป็นไข้ ปวดศีรษะมาก บางครั้งท้องมีอาการเรียกว่าลมพะหิ
ลักษณะเหมือนงูทับทามาขบ ทำให้เชื่อมมึนสลบ
เส้นอิทาด้านหน้า ผิดปกติเกิดโทษจะมีอาการดังต่อไปนี้ นาสึกตึง ห้าวคางค้าง หูตึง นมมิออก เมื่อยต้นขา ขัดเข่าเมื่อยแข้ง ลมขัง ร้อนฝ่าเท้า ปวดกะมับ(ปวดขมับ) ลมดูดสะบัก เนื้อเหน็บชา ฟองดันบวม ขัดอุจจาระ ลมเบ่งให้เกิดผิดปกติ เท้าเย็น ตะคริวเพลิง ( ตะคริวเพลิง) ชักเท้า
เส้นอิทาด้านหลัง ผิดปกติ เกิดโทษจะมีอาการดังนี้ ปวดหน้าผาก ปวดกระหม่อม จักษุมัว คลื่นเหียน หายใจขัด เสียดชายโครง แน่นอก ร้อนอก จุกอก ร้อนตัว จับให้ร้อน จับให้หนาว สะท้านร้อน สะท้านหนาว เมื่อยเอว ขัดเข่า ร้อนฝ่าเท้า ตะคริวฝ่าเท้า ลมให้เดินตลอดผิดปกติ
วิธีแก้ไข ให้นวดตามแนวเส้นอิทาแล้วปรุงยา
เส้นอิทาด้านหน้า ผิดปกติเกิดโทษจะมีอาการดังต่อไปนี้ นาสึกตึง ห้าวคางค้าง หูตึง นมมิออก เมื่อยต้นขา ขัดเข่าเมื่อยแข้ง ลมขัง ร้อนฝ่าเท้า ปวดกะมับ(ปวดขมับ) ลมดูดสะบัก เนื้อเหน็บชา ฟองดันบวม ขัดอุจจาระ ลมเบ่งให้เกิดผิดปกติ เท้าเย็น ตะคริวเพลิง ( ตะคริวเพลิง) ชักเท้า
เส้นอิทาด้านหลัง ผิดปกติ เกิดโทษจะมีอาการดังนี้ ปวดหน้าผาก ปวดกระหม่อม จักษุมัว คลื่นเหียน หายใจขัด เสียดชายโครง แน่นอก ร้อนอก จุกอก ร้อนตัว จับให้ร้อน จับให้หนาว สะท้านร้อน สะท้านหนาว เมื่อยเอว ขัดเข่า ร้อนฝ่าเท้า ตะคริวฝ่าเท้า ลมให้เดินตลอดผิดปกติ
วิธีแก้ไข ให้นวดตามแนวเส้นอิทาแล้วปรุงยา
2. เส้นปิงคลา
- 2.1 จากตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่ม3(1) กล่าวถึงเส้นปิงคลาว่าตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 2 นิ้ว เยื้องขวา 1 นิ้ว
แล่นไปต้นขาด้านขวาถึงเข่า แล้ววกกลับมา ต้นขาด้านหลัง
แล่นขึ้นแนบกระดูกสันหลัง ถึงคอ ถึงศีรษะ แล้ว วกกลับมาที่ ริมจมูกขวา
ลมประจำชื่อ ลม ศูญทะกะลา
2.3 ส่วนอาจารย์รัตติยา จินเดหวา(2) ได้กล่าวถึงเส้นปิงคลาดังนี้ ว่า เส้นปิงคลา มีตำแหน่งอยู่ห่างจากข้างขวา ของสะดือประมาณ 1 นิ้ว และอยู่ลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวเส้น แล่นเช่นเดียวกับเส้นอิทา แต่อยุ่ซีกขวาของลำตัว มีแนวเส้นแล่นออกไปดังนี้
- แล่นลงไปที่บริเวณหัวเหน่า
- ผ่านลงมาต้นขาด้านใน แล่นลงไปที่บริเวณเหนือ ข้อกระดูก เข่าด้านใน แล่นเข้าไปในใต้พับข้อเข่า
- แล่นขึ้นกลับมา ที่เหนือข้อกระดูก ด้านนอก แล่นขึ้นจากต้นขาซวาด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านเข้าใปในตะโพกด้านขวา
- แล่นขึ้นไปข้างแนวกระดูกสันหลัง บริเวณระดับเอว ( ชิดกระดูกสันหลัง ส่วนที่แหลม ข้าง ระหว่างกระดูกเอว ชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2)
- แล่นขึ้นแนบแนวกระดูกสันหลัง ด้านขวา แล่นต่อเนื่อง ขึ้นไปข้างกระดูกคอ ขึ้นตลอดไปบนศีรษะ
- วกกลับลงมาผ่าน บริเวณหน้าผาก เข้าไปในจมูกข้างขวา
2.3 ส่วนอาจารย์รัตติยา จินเดหวา(2) ได้กล่าวถึงเส้นปิงคลาดังนี้ ว่า เส้นปิงคลา มีตำแหน่งอยู่ห่างจากข้างขวา ของสะดือประมาณ 1 นิ้ว และอยู่ลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวเส้น แล่นเช่นเดียวกับเส้นอิทา แต่อยุ่ซีกขวาของลำตัว มีแนวเส้นแล่นออกไปดังนี้
- แล่นลงไปที่บริเวณหัวเหน่า
- ผ่านลงมาต้นขาด้านใน แล่นลงไปที่บริเวณเหนือ ข้อกระดูก เข่าด้านใน แล่นเข้าไปในใต้พับข้อเข่า
- แล่นขึ้นกลับมา ที่เหนือข้อกระดูก ด้านนอก แล่นขึ้นจากต้นขาซวาด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านเข้าใปในตะโพกด้านขวา
- แล่นขึ้นไปข้างแนวกระดูกสันหลัง บริเวณระดับเอว ( ชิดกระดูกสันหลัง ส่วนที่แหลม ข้าง ระหว่างกระดูกเอว ชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2)
- แล่นขึ้นแนบแนวกระดูกสันหลัง ด้านขวา แล่นต่อเนื่อง ขึ้นไปข้างกระดูกคอ ขึ้นตลอดไปบนศีรษะ
- วกกลับลงมาผ่าน บริเวณหน้าผาก เข้าไปในจมูกข้างขวา
- เส้น
ปิงคลากำเริบผิดปกติมีผลทำให้เกิดโรคต่อไปนี้ หน้าแดง ตาแดง เกิดพิษลมปะกัง
บางครั้งมีอาการชัก ปากเอียง บางทีเป็นสันนิบาตบางทีเป็นริดสีดวง
น้ำมูกไหลคัดจมูก จาม บางครั้งกลายเป็นลมผหิสิ้นสติ ไม่พูดจา เหมือนถูกงู
ทับสมิงคลาขบเอา ทำให้สลบไป
เส้นปิงคลาด้านหน้า กำเริบผิดปกติมี ผลทำให้เกิดโทษดังนี้ ปวดกะหมับ สะบักจม หาวเรอ หูหนักข้างขวา คัดจมูก นมหลง ฝีในน้ำนม น้ำนมไม่มี เมื่อยขา กล่อนลงฝัก เตโชธาตุมิออก เมื่อยสันน่าแข้ง เท้าสะทก กล่อนลงแข้ง ตะคริวชัก กล่อนหลง แก้ลมอโธคมาวาตาให้อ่อน(อะโหคมาวาตให้อ่อน) ไหวตัวมิได้
เส้นปิงคลาด้านหลัง กำเริบ ผิดปกติ มีผลเกิดโทษดังนี้ ปวดหน้าผาก มัวจักษุ คลื่นเหียน หายใจขัด แน่นอก ร้อนอก จุกอก ลมปัศชาต์ จับให้หนาว จับให้ร้อน สะท้านร้อน สะท้านหนาว เมื่อยเอว ขัดเข่า เมื่อยสันหน้าแข้ง ตะคริวชักกลางเท้า ลมขัดเท้า ร้อนหลังเท้า ขัดเบา
วิธี แก้ นวดตามแนวเส้นปิงคลานวดตั้งแต่กระหม่อม ตา ไรผมต้นคอ ตามหูบริเวณทัดดอกไม้สองข้าง และที่กระหม่อม แล้วเลื่อนลงมาที่จุดศูนย์กลางบริเวณจมูกขวา ถ้าเป็นสันนิบาตลมปะกังนวดระหว่างคิ้วทั้ง2บริเวณหน้าผาก คลึงไปท้ายผม หลังใต้หู ให้นวดทั้ง 2 ข้างโดยเน้นที่จุด ข้างจมูก
เส้นปิงคลาด้านหน้า กำเริบผิดปกติมี ผลทำให้เกิดโทษดังนี้ ปวดกะหมับ สะบักจม หาวเรอ หูหนักข้างขวา คัดจมูก นมหลง ฝีในน้ำนม น้ำนมไม่มี เมื่อยขา กล่อนลงฝัก เตโชธาตุมิออก เมื่อยสันน่าแข้ง เท้าสะทก กล่อนลงแข้ง ตะคริวชัก กล่อนหลง แก้ลมอโธคมาวาตาให้อ่อน(อะโหคมาวาตให้อ่อน) ไหวตัวมิได้
เส้นปิงคลาด้านหลัง กำเริบ ผิดปกติ มีผลเกิดโทษดังนี้ ปวดหน้าผาก มัวจักษุ คลื่นเหียน หายใจขัด แน่นอก ร้อนอก จุกอก ลมปัศชาต์ จับให้หนาว จับให้ร้อน สะท้านร้อน สะท้านหนาว เมื่อยเอว ขัดเข่า เมื่อยสันหน้าแข้ง ตะคริวชักกลางเท้า ลมขัดเท้า ร้อนหลังเท้า ขัดเบา
วิธี แก้ นวดตามแนวเส้นปิงคลานวดตั้งแต่กระหม่อม ตา ไรผมต้นคอ ตามหูบริเวณทัดดอกไม้สองข้าง และที่กระหม่อม แล้วเลื่อนลงมาที่จุดศูนย์กลางบริเวณจมูกขวา ถ้าเป็นสันนิบาตลมปะกังนวดระหว่างคิ้วทั้ง2บริเวณหน้าผาก คลึงไปท้ายผม หลังใต้หู ให้นวดทั้ง 2 ข้างโดยเน้นที่จุด ข้างจมูก
3. เส้นสุมนา
o จากตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรมเล่ม 3 (1) และตำราการแพทย์ไทยเดิม (3) กล่าวถึงเส้นสุมนาว่าตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องเหนือสะดือ 2 นิ้ว แล่นขึ้นไปในทรวงอก ถึงลำคอ ไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น เรียกว่า รากเส้นลิ้น ลมประจำเรียกว่า ลมชิวหาสดมภ์
o ส่วน ข้อเขียน อ.รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวว่า เส้นสุมนา มีตำแหน่งอยู่เหนือสะดือ ขึ้นไปประมาณ 3 นิ้ว อยู่กึ่งกลางระหว่างสะดือ กับใต้บริเวณกระดูกอก และอยู่ลึกลงไป ประมาณ สองนิ้ว มีแนวเส้นแล่นดังนี้
- แนวเส้นแล่น ขึ้นจากเหนือสะดือ ขึ้นไปใต้กระดูกอก แล่นขึ้นผ่าน ลำคอ ไปจรดโคนลิ้น
- แนวเส้นแล่น ขึ้นจากเหนือสะดือ ขึ้นไปใต้กระดูกอก แล่นขึ้นผ่าน ลำคอ ไปจรดโคนลิ้น
- เกิด
ลิ้นกระด้างคางแข็ง หนักอก หนักใจ เซื่อมมัว มึนซึม เกิดอาการจุกอก
เกิดเอ็นเป็นลำเรียกว่า ลมตาลละคุณ ถ้าเกิดอาการดวงจิตระส่ำระสายเรียกลม
ทะกรน ถ้าเคลิ้มเสียจริต เสียสติ พูดจาเพ้อเจ้อ หลงลืมเรียกว่า ลมบาทจิต
ลมสุมนาอ่อนๆทำให้เบื่ออาหารมืออ่อนแรง นอนระทวยใจ
เส้นสุมนาด้านหน้า กำเริบผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ เซื่อมมึน จิตระส่ำระสาย เคลิ้มคลั่ง สะอื้นลมปะทะ ละเมอเพ้อพก มือแลเท้าเพลีย นอนมิหลับ เกิดลมจิตร์คุณ เกิดลมมะหาสนุก เกิดชิวหาสดมภ์ กินอาหารไม่ มีรส หวานปาก ขมปาก แคมปากเลือดปาก ลิ้นแข็งกระด้าง ลิ้นใหญ่คับปาก ลิ้นหดยืดมิออก สุมรณันติ
เส้นสุมนาด้านหลัง กำเริบผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ เกิดลมหัศดม เซื่อมมึน สวิงสวาย หายใจขัด ใจลอย นอนมิหลับ เกิดลมมะหาสนุก บาตลักษ ลมบาทยักษ์ ลมมหาสดมภ์ ลมให้หิว ลมกระทบใจ ละหวยใจ น้ำเขละใส คลื่นเหียน รากเพื่อพิศ ลมบาทจักร์ รำโหยจิตร์
วิธีแก้ การนวดให้นวดตามแผนนวดเส้นสุมนา โดยนวดอย่างแผ่วเบา อย่าออกแรงมาก และอย่าใช้เวลานวดนาน เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้ วางยา ควรวางยาด้วยยารสหอม รสขม กลิ่นหอมสุขุม ไม่ควรรสเย็น หรือ ร้อนกล้า
เส้นสุมนาด้านหน้า กำเริบผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ เซื่อมมึน จิตระส่ำระสาย เคลิ้มคลั่ง สะอื้นลมปะทะ ละเมอเพ้อพก มือแลเท้าเพลีย นอนมิหลับ เกิดลมจิตร์คุณ เกิดลมมะหาสนุก เกิดชิวหาสดมภ์ กินอาหารไม่ มีรส หวานปาก ขมปาก แคมปากเลือดปาก ลิ้นแข็งกระด้าง ลิ้นใหญ่คับปาก ลิ้นหดยืดมิออก สุมรณันติ
เส้นสุมนาด้านหลัง กำเริบผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ เกิดลมหัศดม เซื่อมมึน สวิงสวาย หายใจขัด ใจลอย นอนมิหลับ เกิดลมมะหาสนุก บาตลักษ ลมบาทยักษ์ ลมมหาสดมภ์ ลมให้หิว ลมกระทบใจ ละหวยใจ น้ำเขละใส คลื่นเหียน รากเพื่อพิศ ลมบาทจักร์ รำโหยจิตร์
วิธีแก้ การนวดให้นวดตามแผนนวดเส้นสุมนา โดยนวดอย่างแผ่วเบา อย่าออกแรงมาก และอย่าใช้เวลานวดนาน เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้ วางยา ควรวางยาด้วยยารสหอม รสขม กลิ่นหอมสุขุม ไม่ควรรสเย็น หรือ ร้อนกล้า
4. เส้นกาลทารี
4.1 ตำราแพทย์แผนโบราณสาขาเวชกรรม เล่ม3 (1) กล่าวถึงเส้นกาลธารีว่า ตั้งต้นที่ที่กึ่งกลางท้อง แล้วแตกเป็น 4 เส้น สองเส้นบนเหนือสะดือ 1 นิ้ว แล่นผ่านราวนมทั้งสองข้าง ถึงข้อมือทั้งสองข้าง แล้วเลยไปที่นิ้วมือทั้งสิบ 2เส้นล่างใต้สะดือ 1 นิ้ว แล่นไปที่ขาทั้งสอง ถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง แล้วเลยไปที่นิ้วเท้าทั้งสิบ4.2 ส่วนของอาจารย์ รัตติยา จินเดหวา (2) กล่าวถึงเส้นกาลธารีว่า มีตำแหน่งอยู่เหนือสะดือ ห่างขึ้นไปประมาณ 2 นิ้ว อยู่ลึกลงไป ประมาณ 2 นิ้ว แนาแล่น ของเส้นแยก ออกเป็น 4 เส้น แนวแล่นของเส้น แล่นออกไปดังนี้
- แนวแล่น 2 เส้น แล่นทแยง ไปสู่ชายโครง ไปที่กระดูกชายโครงคู่ที่ 1
- แนวเส้นวิ่งไปที่ไหล่ แล้ว ขดแยกไปเหนือสะบักหลัง ไปข้างกระดูกคอ ชิ้นที 1
- แล่นผ่านรอยบุ๋ม ข้างคอ วกไปที่ศีรษะ แล้วกลับลวมาที่หู
- แนวแล่นอีกทางหนึ่ง แล่นจากเหนือสะบักหลัง มาทีไหล่
- แนวแล่นทั้งสอง จากไหล่ ลงมาตามหลังแขน
- แล่นผ่านข้อศอกลงมาท่อนแขน ( กล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง)
- แล่นผ่านบริเวณกลางข้อมือ ไปที่นิ้วมือทั้งห้า
- แนวแล่นอีกสองเส้น แล่นออกจากท้องลงมาต้นขาด้านใน
- ผ่านบริเวณน่อง ห่างกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน แล้วมากลางหลังเท้า
- แล่นผ่านบริเวณข้อเท้า แล้วแยกเป็นห้าเส้น ไปที่นิ้วเท้า ทั้งห้า
การแล่นของเส้น กาลธารี หมายถึง ข้างละเส้น และแนวเส้นที่แล่นไปที่ไหล่ จะมีลักษณะ กระหวัด เกี่ยวระหว่างสะบักหลังไปที่ไหล่ และแล่นไปที่คอ ไปบนศีรษะ กลับมาที่ไหล่ แล้วจึงแล่น ลงมาที่แขนไป ที่นิ้วมือทั้งห้า
เส้นกาลทารีกำเริบ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ มีอาการเย็นชาไปทั้งตัว ให้จับเย็น หนาวสะท้าน สาเหตุจากการกินอาหารผิดสำแดงหรือของแสลง เช่น ขนมจีนข้าวเหนียว ถั่ว บางครั้งเกิดอาการสันนิบาตบางครั้งเกิดลม เรียกว่า สหัสรังษี คือหมดสติไม่รู้ตัว
เส้นกาลทารี ด้านหน้า กำเริบ ผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ ขบไหล่ให้หิว เมื่อยไหล่ ร้อนฝ่ามือยิ่งนัก ปลายมือเหน็บชา ปัฎวิธาตุให้ผูก ขัดข้อมือขัดศอก อาโปธาติพิการ เท้าตาย อันทรฤทธิ์ ขัดไหล่ให้ยอก ไหล่ลดยกมิได้ มือตายให้เย็น คลอดปลายมือ ลมอะโคคมาวาตา ข้อศอกงอมิได้ เท้าตายยกมิขึ้น อำมะฤทธิ์ ให้เตโชออก
เส้นกาลทารีด้านหลัง กำเริบผิดปกติมี ผลเกิดโทษดังนี้ ไหล่ตาย ลมดูดสะบัก ลมสะบักตาย เจ็บหลัง ลมให้แสบอก วาโยธาตุพิการ เตโชธาตุถอย ลมแขนตาย ลมอันทพฤกษ์ แขนซ้ายขวาผิดปกติ ปัฎวีธาตุพิการ อาโปธาตุถอย ตะโพกตาย ลมเจ็บเอว ลมอันทพาตย์ น่องสั่นมิหยุด อยู่เพื่อตะคริว
วิธีแก้ นวดตามเส้นกาลทารี แล้วใช้ยา แก้ปัถวีธาตุมากิน เพื่อบรรเทา เบาบาง กาลทารี
5. เส้นสหัสรังษี (ตาซ้าย)
5.1 ตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่มที่ 3 (1)กล่าวถึงเส้นสหัสรังษีว่า ตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องจากสะดือมาทางซ้ายมือ 3 นิ้ว แล่นไปที่ขาซ้ายด้านในถึงฝ่าเท้า แล่นผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า แล้วกลับมาที่สันหน้าแข้งซ้าย แล่นผ่านราวนมซ้าย รอดไหปลาร้า รอดขากรรไกรไปสุดที่ ใต้ตาซ้าย เรียกว่า เส้นรากตาซ้าย
5.2 ส่วนข้อเขียน อาจารย์ รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวถึงเส้นสหัสรังษีว่า มีตำแหน่งอยู่ข้างซ้ายของสะดือ ห่างออกไปประมาณ 2 นิ้ว และอยู่ห่างจากเส้นอิทา 1 นิ้ว อยู่ลึกลงไปประมาณ 2 และอยู่ห่างจากเส้นอิทาออกไป 1 นิ้ว แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แล่นลงไปที่ต้นขาซ้ายด้านใน
- แล่นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านใน
- แล่นต่อลงไป ริมข้างกระดูก สันหน้าแข้งด้านใน ผ่านชิดหน้าแข้งถึงตาตุ่ม ด้านใน
- แล่นผ่านริมฝ่าเท้าด้านในทั้งหมด วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวก ผ่านริมฝ่าเท้าด้านใน วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวกผ่านริมฝ่าเท้าด้านนอก ผ่านส้นเท้าด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านนอก
- แล่นขึ้นแนวต้นขาด้านนอก วิ่งเข้าโคนขาด้านหน้า แล้วผ่านไปที่ท้อง
- แล่นผ่านขึ้นไปบริเวณท้อง
- แล่นขึ้นไปบริเวณนม ขึ้นผ่านลำคอด้านหน้า
- และแล่นขึ้นไปบริเวณใบหน้าในบริเวณตาข้างซ้ายเข้าในโพรงตา
เส้นสหัสรังษีกำเริบ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมจักขุนิวาต และอัคคะนิวารคุณ ทำให้เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ลืมตาไม่ขึ้น สาเหตุอาจ เกิดจากการกินของมัน หวาน เกินไปในวันศุกร์
เส้นสหัสรังษีด้านหน้า กำเริบมี ผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมผิวจักษุแห้ง ลมปดังมีพิศข้างซ้าย ลมปวดหว่างคิ้ว ลมปวดหลังจักษุ ลมจักษุแดง ลมเกิดแต่ปอด อุธรวาตา จักษุเพื่อเตโช ลมในจักษุเพื่อช้ำ
เส้นสหัสรังษีด้านหลัง กำเริบ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมทำให้น้ำจักษุไหล ลมให้แสบจักษุ ลมให้จักษุวิ่ง ลมจักษุเป็นกุ้งยิง ลมเบื้องต่ำให้หลับ ลมนอนมิหลับ ลมกระทำให้หลับ ลมให้เสียดจักษุ ลมขึ้นจักษุเพื่อกล่อน
วิธีแก้ ให้นวดตามเส้นสหัสรังษี
เส้นสหัสรังษีด้านหน้า กำเริบมี ผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมผิวจักษุแห้ง ลมปดังมีพิศข้างซ้าย ลมปวดหว่างคิ้ว ลมปวดหลังจักษุ ลมจักษุแดง ลมเกิดแต่ปอด อุธรวาตา จักษุเพื่อเตโช ลมในจักษุเพื่อช้ำ
เส้นสหัสรังษีด้านหลัง กำเริบ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมทำให้น้ำจักษุไหล ลมให้แสบจักษุ ลมให้จักษุวิ่ง ลมจักษุเป็นกุ้งยิง ลมเบื้องต่ำให้หลับ ลมนอนมิหลับ ลมกระทำให้หลับ ลมให้เสียดจักษุ ลมขึ้นจักษุเพื่อกล่อน
วิธีแก้ ให้นวดตามเส้นสหัสรังษี
6. เส้นทุวารี (ตาขวา)
หนังสือจากตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่ม3 (1) กล่าวว่าเส้นทวารี ตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องจากสะดือ มาทางขวามือ 3 นิ้ว
แล่นไปที่ขาขวาด้านในถึงฝ่าเท้า แล่นผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
แล้ววกกลับมาสันหน้าแข้งขวา แล่นผ่านราวนมขวา รอดไหปลาร้า รอดขากรรไกร
ไปสุดที่ใต้ตาขวา เรียกว่า เส้นรากตาขวา
ส่วน ข้อเขียนของ อาจารย์ รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวเกี่ยวเส้น ทวารีว่า มีตำแหน่งอยู่ข้างขวาของสะดือ ห่างออกไป 2 นิ้ว และอยู่ห่างจากเส้นปิงคลา 1 นิ้ว อยู่ลึกลงประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นคล้ายกับเส้นสหัสรังสี แต่แล่นด้านขวา แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แล่นลงไปที่ต้นขาซวาด้านใน
- แล่นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านใน
- แล่นต่อลงไป ริมข้างกระดูก สันหน้าแข้งด้านใน ผ่านชิดหน้าแข้งถึงตาตุ่ม ด้านใน
- แล่นผ่านริมฝ่าเท้าด้านในทั้งหมด วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวก ผ่านริมฝ่าเท้าด้านใน วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวกผ่านริมฝ่าเท้าด้านนอก ผ่านส้นเท้าด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านนอก
- แล่นขึ้นแนวต้นขาด้านนอก วิ่งเข้าโคนขาด้านหน้า แล้วผ่านไปที่ท้อง
- แล่นผ่านขึ้นไปบริเวณท้อง
- แล่นขึ้นไปบริเวณนม ขึ้นผ่านลำคอด้านหน้า
- และแล่นขึ้นไปบริเวณใบหน้าในบริเวณตาข้างขวา เข้าในโพรงตา
ส่วน ข้อเขียนของ อาจารย์ รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวเกี่ยวเส้น ทวารีว่า มีตำแหน่งอยู่ข้างขวาของสะดือ ห่างออกไป 2 นิ้ว และอยู่ห่างจากเส้นปิงคลา 1 นิ้ว อยู่ลึกลงประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นคล้ายกับเส้นสหัสรังสี แต่แล่นด้านขวา แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แล่นลงไปที่ต้นขาซวาด้านใน
- แล่นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านใน
- แล่นต่อลงไป ริมข้างกระดูก สันหน้าแข้งด้านใน ผ่านชิดหน้าแข้งถึงตาตุ่ม ด้านใน
- แล่นผ่านริมฝ่าเท้าด้านในทั้งหมด วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวก ผ่านริมฝ่าเท้าด้านใน วกผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า
- และวกผ่านริมฝ่าเท้าด้านนอก ผ่านส้นเท้าด้านนอก
- แล่นขึ้นผ่านบริเวณข้างกระดูกข้อเข่าด้านนอก
- แล่นขึ้นแนวต้นขาด้านนอก วิ่งเข้าโคนขาด้านหน้า แล้วผ่านไปที่ท้อง
- แล่นผ่านขึ้นไปบริเวณท้อง
- แล่นขึ้นไปบริเวณนม ขึ้นผ่านลำคอด้านหน้า
- และแล่นขึ้นไปบริเวณใบหน้าในบริเวณตาข้างขวา เข้าในโพรงตา
เส้นทุวารีกำเริบ มีผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ตาลืมไม่ขึ้นวิงเวียน ปวดตามาก ถ้าทุวารีกำเริบ ปวดตาทั้ง2 ข้าง
แต่บางครั้งเจ็บที่ข้างขวาข้างเดียว เรียกว่า ทิพจักขุขวา ทำให้ตาพร่า
มองไม่เห็นถ้าเส้นนี้ เป็นบ่อยๆจะเกิดเป็นโรคปัตคาตเกิดจากการรับประทานน้ำมันมะพร้าวอันมันหวาน จัด บ่อยๆ ในวันอังคาร
เส้นทุวารีด้านหน้า กำเริบมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ แก้จักษุขวา ลืมจักษุมิขึ้น ลมแสบจักษุ ลมเคืองจักษุ ลมเขม่นจักษุ ลมเกิดแต่ตับ ลมมิให้นอนหลับ ลมขึ้นจักษุเพื่อกล่อน
วิธีแก้ ให้นวดท้องก่อน แล้วไล่ไปตามเส้น ไปที่ต้นคอทั้ง 2 เส้น จะทำให้ตาหายพร่ามัว
7.เส้นจันทภูสัง หรือลาวุสัง( หูซ้าย)
หนังสือตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่ม 3 (1) กล่าวว่า ตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องจากสะดือมาทางซ้าย 4 นิ้ว แล่นผ่านราวนมซ้าย รอดไหปลาร้า รอดขากรรไกร ไปสุดที่หูขวา เรียกว่า เส้นรากหูซ้ายจันทภูสังเส้นทุวารีด้านหน้า กำเริบมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ แก้จักษุขวา ลืมจักษุมิขึ้น ลมแสบจักษุ ลมเคืองจักษุ ลมเขม่นจักษุ ลมเกิดแต่ตับ ลมมิให้นอนหลับ ลมขึ้นจักษุเพื่อกล่อน
วิธีแก้ ให้นวดท้องก่อน แล้วไล่ไปตามเส้น ไปที่ต้นคอทั้ง 2 เส้น จะทำให้ตาหายพร่ามัว
7.เส้นจันทภูสัง หรือลาวุสัง( หูซ้าย)
ส่วนหนังสือ ของ อาจารย์รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวว่า มีตำแหน่งอยู่ที่ข้างซ้ายของสะดือ ห่างออกไป ประมาณ 3 นิ้ว อยู่ลกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แนวเส้นแล่นขึ้นไปราวนมข้างซ้าย
- แล่นขึ้นผ่านก้านคอ แนบชิดก้านคอ
- และแล่นขึ้นไปหลังหูเข้าไปในหูข้างซ้าย
เมื่อกำเริบ หรือพิการมีผลทำให้เกิดโรคแทรกและอาการ
เส้นจันทภูสังด้านหน้า เมื่อกำเริบ หรือพิการมีผลทำให้เกิดโรคแทรกและอาการดังนี้ ลมในโสตหนัก ลมให้ปวดในโสต ลมโสตดั่งมะมี ลมออกโสตให้คัน ลมให้นอนมิหลับ ลมให้เบื่ออาหารไม่มีรส ลมให้เมื่อยจำหระเบื้องซ้าย
เส้นจันทภูสังด้านหน้า เมื่อกำเริบ หรือพิการมีผลทำให้เกิดโรคแทรกและอาการดังนี้ ลมในโสตหนัก ลมให้ปวดในโสต ลมโสตดั่งมะมี ลมออกโสตให้คัน ลมให้นอนมิหลับ ลมให้เบื่ออาหารไม่มีรส ลมให้เมื่อยจำหระเบื้องซ้าย
เส้นจันทภูสังด้านหลัง เมื่อกำเริบ หรือพิการมีผลทำให้เกิดโรคแทรกและอาการดังนี้ ลมโสตตึง ลมปวดในโสต ลมฮึงในโสต ลมบริโภคอาหารไม่มีรส ลมให้เมื่อยจำหระเบื้องซ้าย ลมในดันในโสต ลมนอนมิหลับ
โรคกำเริบจากการ อาบน้ำมากเกินไป ในวันพุธ
วิธีแก้ นวดใบหู ตามเส้นข้างต้น จำทำให้เรียกชื่ออื้ออึงหายแต่ถ้ายังไม่ได้ยิน เสียงแสดงว่า เกิดลมชื่อ ทาระกรรณ์ให้กลับมานวดที่สะเอวด้วยแล้วคลึงตามเส้นขึ้นไปใหม่พร้อมกับกินยา ประกอบกัน
8.เส้นรุทัง หรืออุรังกะ (หูขวา)
ตั้งต้นจากสะดือมาทางขวา 4 นิ้ว ผ่านราวนมขวาขึ้นรอดไหปลาร้า ขากรรไกรไปสุดที่หูขวาเรียกเส้นรากหูขวาเส้นรุทัง
หนังสือตำรา แพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่ม 3 (1) กล่าวว่า ตั้งต้นที่กึ่งกลางท้อง จากสะดือมาทางขวามือ 4 นิ้ว แล่นผ่านราวนมขวา รอดไหปลาร้า รอดขากรรไกร ไปสุดที่หูขวา เรียกว่า เส้นรากหูขวาหนังสือนวดไทยโดยอาจารย์ รัตติยา จินเดหวา(2) กล่าวว่า มีตำแหน่งอยู่ที่ข้างซวาของสะดือ ห่างออกไป ประมาณ 3 นิ้ว อยู่ลกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แนวเส้นแล่นขึ้นไปราวนมข้างขวา
- แล่นขึ้นผ่านก้านคอ แนบชิดก้านคอ
- และแล่นขึ้นไปหลังหูเข้าไปในหูข้างขวา
เมื่อกำเริบหรือพิการมีผลให้เกิดโรคและอาการคือหูตึง ลมออกหู เกิดลมชื่อคะพาหุ ทำให้มีอาการหูตึง
เส้นรุทังด้านหน้า เมื่อกำเริบหรือ พิการมีผลให้เกิดโรคและอาการคือ ลมให้โสตตึง ลมปวดในโสต ลมฮึงในโสต ลมดันในโสต ลมนอนมิหลับ ลมให้บริโภคอาหารไม่มีรส ลมให้เมื่อยให้เสียว จำหระเบื้องขวา
เส้นรุทังด้านหลัง เมื่อกำเริบหรือ พิการมีผลให้เกิดโรคและอาการคือ ลมให้โสตหนัก ลมให้ปวดในโสต ลมให้ฮึงในโสต ลมให้นอนมิหลับ ลมให้คอแห้งหาน้ำเขละมิได้ แก้ลมให้เมื่อยจำหระเบื้องขวา ลมดันในโสต โรคกำเริบจากการดื่มน้ำมะพร้าวมากในวัน อังคาร
วิธีแก้ นวดใบหู ตามเส้นข้างต้นจะทำให้เรียกชื่ออื้ออึงหาย แต่ถ้ายังไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าเกิดลมชึ่งให้กลับมานวดที่สะเอวด้วยแล้วคลึง ตามเส้นขึ้นไปใหม่พร้อมให้ยากิน ประกอบกัน
9. เส้นสิขินี หรือคิชฌะ
ส่วนหนังสือ นวดไทย ของอาจารย์ รัตติยา จินเดหวา (2) กล่าวว่า มีตำแหน่งต่ำ จากสะดือ ห่างลงมาประมาณ 2 นิ้ว และอยู่ลึก ลงไป ประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นออกไปดังนี้
- แนวเส้นแล่นลงไปใน หัวเหน่า ไปที่องคชาติผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิง จะเข้าไปในบริเวณ อวัยวะเพศหญิง
เส้น
สิขินี กำเริบมีผลให้เกิดโรคและอาการคือ เสียดสีข้าง ขับเบาปัสสาวะขุ่น
เจ็บหัวเหน่าเกิดลมเรียก ราทยักษ์ เกิดจากเอ็น ขององคชาด ร้าว หม่นหมองเกิด
เพราะน้ำกามถูกกั้นไว้ตกออกเวลากำหนัด หรือน้ำกามก่อโทษ เกิดมีน้ำหนองไหล(
หนองใน)สำหรับสตรี มีอาการจากปัญหาของโลหิต เกี่ยวกับมดลูก เกิดเจ็บท้องน้อย เจ็บสีข้างและเอว
เส้น
สิขินี ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะระบบขับถ่ายของเสีย ไตท่อไต
กระเพาะปัสสาวะจุดสำคัญจะอยู่บริเวณท้อง ท้องน้อย มีที่อก และขา
เส้นสิขินีด้านหน้า กำเริบมี ผลให้เกิดโรคและอาการคือ ลมมุตกิต ลมแสบปัสสาวะ ขบลำปัสสาวะ คันลำปัสสาวะ ปัสสาวะขาวขุ่น ปัสสาวะแดง ลมล่างลำปัสสาวะ ลมกระไสยกล่อน ลมให้เสียว ลมสำหรับบุรุษ ลมอะติสารบูด ลมปัต.ฆาต ลมสันฑฆาต ลมมุตฆาต ลมองคสูตร ลมเสียวปัสสาวะ ลมรัตฆาต ลมให้แสยงขน
เส้นสิขินีด้านหลัง กำเริบมี ผลให้เกิดโรคและอาการคือ ลมคลุ้มคลั่ง ลมเบื่ออาหาร ลมให้เสียวคราวข้าง ลมบวมน้ำหนองในกองปะระเมหะ ลมบังเกิดในกองทุราวสา ลมปวดบุพโพ ลมปัสสาวะดำ
วิธีแก้ นวดเส้นที่ขวางเส้นดังกล่าว แก้สะเอว ตะโพก นวดท้องน้อยให้คลาย แล้ว แต่งยาให้รับประทาน
10. เส้นสุขุมัง ใต้สะดือเยื้องซ้าย 3 นิ้วแล่นไปทวารหนักเส้นสุขุมมัง
หนังสือตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรม เล่ม 3(1) กล่าวว่าตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 3 นิ้ว เวลากดเยื้องซ้ายเล็กน้อย แล่นไปที่ทวารหนักส่วนหนังสือ นวดไทยของ อาจารย์รัตติยา จินเดหวา (2) กล่าวว่า มีตำแหน่งอยู่ต่ำ จากสะดือ ห่างลงมา ประมาณ 1 นิ้ว อยู่ลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว แนวแล่นของเส้นดังนี้
- แล่นลงไปบริเวณหัวเหน่า
- แล้วแล่นกระหวัด (ขด) ทวารอุจจาระ
- แล้วยังกระหวัด ทวารปัสสาวะ
พิการ
มีผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้
ตึงบริเวณทวารรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง
เส้นสุขุมังเกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายอุจจาระเป็นส่วนใหญ่ เป็นเส้นบริเวณ
ทวารหนัก ฝีเย็บ ส่วนอาการอื่นที่อาจสืบเนื่องกันได้แก่ ประสาทวากัส
ควบคุมอาเจียน สะอึก สะอื้น การทำงานของกระบังลมการหอบเหนื่อย
เส้นสุขุมังด้านหน้า พิการมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ไอเพื่อเสมหะ ลมทำให้หอบ ลมทำให้เหนื่อย ลมเพื่อลง ลมสอึก ลมทำให้สอื้น อาโปกำเริบ ลมให้ลงท้อง ลมเท้าเย็น ลมอาเจียน มือบวม ลมอุจจาระมีกลิ่นร้าย ลมให้ปวดอุจจาระ ลมกองอุจจาระธาตุ ลมเข่าเพื่อลม ลมเมื่อยเบื้องต่ำ ลมบวมเท้า ลมกองอะติสาร
เส้นสุขุมังด้านหลัง พิการมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมให้หายใจขั้ง ลมให้เรอ ลมให้หอบ โสภะโรค มูกเลือด อุจจาระธาตุพิการ บรมอะติสาร กระหายน้ำ ร้อนเกินกำหนด ลมให้เหนื่อย ลมสอึก ราก ลงโลหิต ปวดเป็นบิด ลงอติสารโรค บาทเท้าทั้งสอง ลมคูถทวารตึง ปวดท้องสุขุมัง เกิดเพราะกินอาหารมันจัดในวันอาทิตย์
วิธีแก้ นวดเส้นท้องน้อย โดยกดให้รู้สึกเสียวไปที่ทวาร ทำให้ฝีเย็บถูกเผยออกเกิดการเบ่งอุจจาระ
เส้นสุขุมังด้านหน้า พิการมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ไอเพื่อเสมหะ ลมทำให้หอบ ลมทำให้เหนื่อย ลมเพื่อลง ลมสอึก ลมทำให้สอื้น อาโปกำเริบ ลมให้ลงท้อง ลมเท้าเย็น ลมอาเจียน มือบวม ลมอุจจาระมีกลิ่นร้าย ลมให้ปวดอุจจาระ ลมกองอุจจาระธาตุ ลมเข่าเพื่อลม ลมเมื่อยเบื้องต่ำ ลมบวมเท้า ลมกองอะติสาร
เส้นสุขุมังด้านหลัง พิการมี ผลให้เกิดโรคและอาการดังนี้ ลมให้หายใจขั้ง ลมให้เรอ ลมให้หอบ โสภะโรค มูกเลือด อุจจาระธาตุพิการ บรมอะติสาร กระหายน้ำ ร้อนเกินกำหนด ลมให้เหนื่อย ลมสอึก ราก ลงโลหิต ปวดเป็นบิด ลงอติสารโรค บาทเท้าทั้งสอง ลมคูถทวารตึง ปวดท้องสุขุมัง เกิดเพราะกินอาหารมันจัดในวันอาทิตย์
วิธีแก้ นวดเส้นท้องน้อย โดยกดให้รู้สึกเสียวไปที่ทวาร ทำให้ฝีเย็บถูกเผยออกเกิดการเบ่งอุจจาระ
0 ความคิดเห็น: