การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การแพทย์แผนไทย “3 ประสานรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง” คือ การใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ทั้งการนวดหรือการใช้สมุนไพร ผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันในการบำบัดรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์หรืออัมพาตจาก โรคหลอดเลือดสมอง
การนวดในผู้ป่วยอัมพฤกษ์หรืออัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (18)
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การนวดแบบสัมผัส เป็นการนวดในลักษณะที่เบา ใช้การลูบ บีบ จับเบาๆ หรือนวดน้ำมัน เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการรับสัมผัส ส่วนการนวดฟื้นฟู เป็นการนวดตามแนวเส้นพื้นฐานหรือการลงจุดสัญญาณ ซึ่งการนวดในลักษณะนี้จะเป็นการนวดที่หนักกว่า
การนวดแบบสัมผัสจะเป็นการรักษาผู้ป่วยในขั้นเบื้องต้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และเมื่อผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงนำไปสู่ขั้นตอนในการนวดแบบฟื้นฟูต่อไป
- ขั้นแรกนวดสัมผัส วันละ 1 ครั้งๆ ละ 1-1 ½ ชั่วโมง ติดต่อกัน 3 วัน แล้วประเมินผลการรักษา
- เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวด และความร้อนได้ดีขึ้น
สามารถกระดิกนิ้วมือ เท้าได้บ้าง จะทำการนวดฟื้นฟู วันละ 1 ครั้งๆ ละ 1-2 ชั่วโมง ติดต่อกัน 5 วัน แล้วประเมินผลการรักษาซ้ำ
- เมื่อรักษาต่อเนื่องแล้วผู้ป่วยดีขึ้นเรื่อยๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง มีความจำเป็นที่
จะต้องฟื้นฟูต่อเนื่อง จะกระทำการนวดฟื้นฟูสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง จนกว่าจะฟื้นตัวได้ด้วยตนเอง จะให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ป่วยไปปฏิบัติตนเองต่อที่บ้าน
- เมื่อรักษาแล้วอาการคงที่: ให้ปรึกษา ประสานกับบุคลากรในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อวาง
แผนการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
ข้อควรระวังในการนวด
- ผู้นวดจะต้องเป็นผู้ที่จบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยขึ้นไป ผ่านการอบรม 330 หรือ 372 ชั่วโมง
- ระยะเฉียบพลัน ไม่ควรรับการรักษาด้วยการนวดอย่างเดียว เพราะไม่สามารถรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางแผนปัจจุบันเป็นหลัก
- ผู้ป่วยต้องมีสัญญาณชีพ (vital sign) คงที่ เช่น ไม่มีไข้ ชีพจรปกติ ความดันเลือดปกติ การหายใจปกติ มีความผิดปกติของระบบประสาทคงที่และไม่มีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ ได้ โรคลมชัก ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงการนวดหรือปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อน
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านลิ่มเลือดแข็งตัว การนวดมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกผิดปกติ
- หลีกเลี่ยงการดึงดัด เช่น การนวดหัวไหล่ไม่ควรทำการดัด โดยเฉพาะท่าดัดแขนไปข้างหลัง หรือหมุนแขนเข้าแล้วดัดขึ้นข้างบนซึ่งทำให้หัวไหล่เจ็บ อักเสบ หรือเคลื่อนหลุดมากขึ้น
- บริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงการนวด ได้แก่
• บริเวณด้านหน้าของคอ เนื่องจาก มีเส้นเลือดแดงใหญ่ การนวดกดตำแหน่งนี้ทำให้หน้ามืดหัวใจเต้นช้า ความดันเลือดลดลงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
• ฐานของคอเหนือกระดูกไหปลาร้าขึ้นมา ไม่ควรทำการนวด อาจมีผลทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณนี้อักเสบและบวมใหญ่ขึ้น
• รักแร้ เป็นบริเวณที่มีเส้นเลือด และปมประสาทมากมาย การกดบริเวณนี้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก ถ้าเกิดอาการเสียวแปลบลงที่แขน แสดงว่ากดถูกเส้นประสาท
• บริเวณที่มีการอักเสบ, บวมน้ำแบบกดบุ๋มจากภาวะไตทำงานผิดปกติ, บวมจากเส้นเลือดดำส่วนลึกหรือท่อน้ำเหลืองอุดตัน
• บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลกดทับ แผลพุพอง ฝีหนอง
• แผลที่เกิดจากมะเร็งและในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายของมะเร็งบางชนิด
สำหรับประโยชน์ในการนวดนั้นจะสามารถช่วยลดลดอาการปวด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว หรือจะลดอาการบวม ชา ที่ไม่ได้เกิดการอักเสบ ทำให้มีการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น
การนวดสัมผัส นวดสัมผัสบริเวณมือและแขน
ท่าที่ 1 นวดคลายกล้ามเนื้อฝ่ามือ
ผู้ป่วยหงายมือ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดซ้อนกัน
จุดฝ่ามือที่ 1 อยู่บนเนินใหญ่ของฝ่ามือ
จุดที่ 2 อยู่กลางฝ่ามือตรงบริเวณนิ้วกลาง
และจุดที่ 3 อยู่บริเวณเนินเล็กของฝ่ามือตรงบริเวณ
ท่าที่ 2 นวดคลายกล้ามเนื้อแขนด้านใน 1 และ 2
ผู้ป่วย
หงายมือ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงตำแหน่งแนวแขนด้านใน 1
(แนวนิ้วกลาง)เริ่มจากเหนือข้อมือ
ใช้สองนิ้วกดนวดไล่เรียงขึ้นไปจนถึงต้นแขน และนวดและนวดแนวแขนด้านใน 2
(แนวนิ้วก้อย)นวดลักษณะเช่นเดียวกับแนว 1 โดยเว้นการกดบริเวณข้อพับแขน
ท่าที่ 3 นวดคลายกล้ามเนื้อหลังมือ
ผู้ป่วยคว่ำมือ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดซ้อนกันตรงจุดที่ 1 บริเวณง่ามระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ และกดจุดหลังมือ 2, 3, 4 บริเวณร่องระหว่างโคนนิ้ว
ท่าที่ 4 นวดคลายกล้ามเนื้อแขนด้านนอก 1, 2
ผู้ป่วย
คว่ำมือ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงตำแหน่งนวดแขนด้านนอก 1 (แนวนิ้วกลาง)
เริ่มต้นจากเหนือข้อมือเล็กน้อยกดนวดไร่เรียงขึ้นไปจนถึงต้นแขน
และนวดแนวแขนด้านนอก 2 (แนวนิ้วก้อย) นวดลักษณะ เช่นเดียวกับแนว 1
โดยเว้นการนวดบริเวณข้อศอก
ท่าที่ 5 ลูบเอาใจ
ผู้ป่วยหงายมือ ผู้นวดบีบน้ำมันใส่ฝ่ามือ ชโลมน้ำมันให้ทั่วฝ่ามือ แล้วใช้อุ้งมือขวาและอุ้งมือซ้ายวางบนแขนผู้ป่วยออกแรงกดเบาๆ กดนวดไร่เรียงขึ้นไปจนถึงต้นแขน จากนั้นหมุนฝ่ามือโอบข้างต้นแขนรูดลงมาจนถึงข้อมือ ทำ 3-4 รอบ
ท่าที่ 6 วนก้นหอย
สลับ
กันเป็นก้นหอยตามแนวกึ่งกลางแขนกึ่งกลางแขนด้านใน
เริ่มตั้งแต่บริเวณเหนือข้อมือ นวดไล่ เรียงขึ้นไปจนถึงต้นแขน ทำ 3-4 รอบ
เว้นบริเวณใต้พับแขน (นวดวนก้นผู้ป่วยหงายมือ
ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดนวดวนหอยจะนวดทั้งแนวแขนด้านใน 1, 2)
ท่าที่ 7 รีดกล้ามเนื้อแขนด้านใน
ผู้ป่วย หงายมือ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงตำแหน่งกึ่งกลางแขนด้านในบริเวณเหนือข้อมือ กดนวดรีดขึ้นไปจนถึงกึ่งกลางแขนด้านล่าง และกดนวดรีดขึ้นไปจนถึงใต้ข้อพับแขน เว้นบริเวณข้อพับแขน จากนั้นกดนวดรีดขึ้นไปจนถึงต้นแขน ทำ 3-4 รอบ (นวดรีดกล้ามเนื้อแขนด้านใน
การนวดสัมผัสบริเวณขาท่านอนหงาย
ท่าที่ 1 นวดคลายกล้ามเนื้อขาแนวที่ 1 ชิดกระดูกสันหน้าแข้ง
ผู้ นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางคู่กัน กดบนแนวกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหลังหน้าแข้งแนวที่ 1 (ชิดกระดูกสันหน้าแข้ง) กดเรียงลงไปถึงข้อเท้า และ กดเรียงนิ้วขึ้นจาก 2 นิ้วเหนือเข่า ไปถึงต้นขา โดยใช้นิ้วทั้งสี่ประคอง
ท่าที่ 2 นวดคลายกล้ามเนื้อขาแนวที่ 2, 3 ช่วงสันหน้าแข้ง
ผู้
นวดพลิกกลับมือ โดยนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างชี้ลง นวดแนวกล้ามเนื้อแนวที่
2, 3 (ห่างจากกระดูกสันหน้าแข้ง 1 และ 2 นิ้วมือตามลำดับ
เว้นข้อเข่าลงมาประมาณ 2 นิ้วมือ กดเรียงนิ้วลงไปถึง
ข้อเท้าและกดเหนือข้อเข่า 2 นิ้วมือ กดเรียงนิ้วขึ้นไปจนถึงท่าที่ 3 ลูบเอาใจ
ผู้นวดบีบน้ำมันใส่ฝ่ามือ ทำการชโลมน้ำมันให้ทั่วด้วยท่าลูบเอาใจ คือใช้อุ้งมือขวาและอุ้งมือซ้ายวางบนขาผู้ป่วยออกแรงเบาๆ นวดไร่เรียงขึ้นไปจนถึงต้นขา จากนั้นหมุนฝ่ามือโอบข้างต้นขาลูบลงมาจนถึงข้อเท้า ทำท่าลูบเอาใจ 3 – 4 รอบ
ท่าที่ 4 วนก้นหอยแนวสันหน้าแข้ง***
ผู้นวดใช้หัวแม่มือทั้งสองข้างกดนวดวนเป็นก้นหอยเริ่มตั้งแต่แนวสันหน้าแข้ง ด้านนอกและด้านในเหนือข้อเท้า กดนวดไล่ขึ้นไปจนถึงข้อเข่า และนวดบริเวณเหนือข้อเข่า 2 นิ้วมือ กดเรียงนิ้ววนเป็นก้นหอยขึ้นไปจนถึงต้นขา ทำ 3-4 รอบ
ท่าที่ 5 รีดกล้ามเนื้อขาด้านนอก
ผู้นวดใช้มือซ้ายจับบริเวณข้อเท้าผู้ป่วย ส่วนมือขวาใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงตามตำแหน่งแนวสันหน้าแข้งด้านนอก กดนวดรีดขึ้นไปจนถึงข้อเข่า และนวดบริเวณเหนือข้อเข่า 2 นิ้วมือ นวดรีดขึ้นไปจนถึงข้อขาทำ 3-4 รอบ จากนั้นเปลี่ยนสลับมือรีดขาด้านใน ทำเช่นเดียวกับขาด้านนอก
ท่าที่ 6 รีดกล้ามเนื้อขาด้านในท่อนล่าง
ผู้ป่วย
นอนหงายงอเข่าข้างที่นวด ผู้นวดใช้ส้นมือกดรีดบริเวณแนวขาด้านในท่อนล่างแนว
1, 2 (ชิดกระดูกหน้าแข้งด้านในและห่างจากกระดูกหน้าแข้งด้านใน 1 นิ้วมือ)
กดตั้งแต่ใต้ข้อพับเข่าลงมา ไปถึงข้อเท้า ทำ 3-4 รอบ
ท่าที่ 7 รีดกล้ามเนื้อขาด้านในท่อนบน
ผู้ป่วยนอนหงาย งอเข่าข้างที่นวด ผู้นวดใช้ส้นมือกดรีดตรงบริเวณแนวขาด้านในท่อนบนแนว1, 2 (ดังท่าที่ 6)กดตั้งแต่เหนือข้อพับเข่าขึ้นไปถึงต้นขา ทำ 3-4 รอบ
การนวดสัมผัสบริเวณขาท่านนอนตะแคง
ท่าที่ 1 รีดกล้ามเนื้อขาด้านนอกท่อนล่าง
ผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดรีดตรงบริเวณแนวขาด้านนอกท่อนล่างแนว 1, 2, 3 (ชิดกระดูกสันหน้าแข้งด้านนอก, ห่างจากสันหน้าแข้ง 1 นิ้วมือและ 2 นิ้วมือตามลำดับ) กดรีดตั้งแต่ใต้ข้อพับเข่าลงไปถึงข้อเท้า ทำ 3-4 รอบ
ท่าที่ 2 รีดกล้ามเนื้อขาด้านนอกท่อนบน
ผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ผู้นวดใช้ส้นมือกดรีดตรงบริเวณแนวขาด้านนอกท่อนบนแนว 1, 2, 3 (ดังท่าที่ 1) กดรีดตั้งแต่เหนือข้อพับเข่าขึ้นไปถึงต้นขา ทำ 3-4 รอบ
การนวดสัมผัสบริเวณหลังท่านอนตะแคง
ท่าที่ 1 นวดคลายกล้ามเนื้อหลัง แนว 1, 2
ผู้ป่วย
นอนตะแคงาข้าง ผู้นวดใช้ส้นมือกดลงเบา ๆ แนว 1 (ชิดกระดูกสันหลัง) และ แนว 2
(ห่างจากกระดูกสันหลัง 1 นิ้วมือ) นวดจากหลังช่วงเอวขึ้นไปจนถึงช่วงบ่า
ทำทั้งสองข้างเหมือนกัน
ท่าที่ 2 วนก้นหอยชิดแนวกระดูกสันหลัง แนว 1
ผู้ป่วยนอนตะแคงในลักษณะเดิม ผู้นวดบีบน้ำมันใส่ฝ่ามือ ชโลมให้ทั่วแผ่นหลัง ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดวนเป็นก้นหอยชิดแนวกระดูกสันหลัง แนว 1 เริ่มต้นนวดจากหลังช่วงเอวกดนวดขึ้นไปจนถึงแนวบ่า
ท่าที่ 3 วนก้นหอยห่างจากแนวกระดูกสันหลัง 1 นิ้วมือ แนว 2
ผู้ป่วยนอนตะแคงในลักษณะเดิม ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกดนวดวนเป็นก้นหอยห่างจากแนวกระดูกสันหลัง 1 นิ้วมือ เริ่มต้นนวดจากหลังช่วงเอวกดนวดขึ้นไปจนถึงแนวบ่า
อย่างไรก็ดีการนวด ในระยะที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง (Spasticity) โดยเฉพาะในบางบริเวณ เช่น ฝ่ามือ แขนด้านใน ข้อพับศอกด้านใน ต้นขาด้านหน้า และฝ่าเท้า สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการ
หดเกร็งของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการรักษามากกว่าผลดี จึงควรหลีกเลี่ยงการนวดในกรณีดังกล่าว
สมุนไพร (19)
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา จะมีลูกประคบที่ใช้ในการรักษาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลายชนิด อาทิ ผิวมะกรูด ขมิ้นชัน เกลือ การบูร ไพล และตะไคร้บ้าน เป็นต้น นำไปนึ่ง 15-20 นาทีแล้วใช้ประคบให้ผู้ป่วยประมาณครึ่งชั่วโมง นอกจากจะช่วยในการรักษา ยังช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย สำหรับการใช้สมุนไพรชนิดรับประทาน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่าหนักแค่ไหน โดยจะมีทั้งแบบสมุนไพรเดียวและสมุนไพรตำรับ
ตัวอย่างสมุนไพร
ขิง มีประโยชน์ทางยา คือ ขิงช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน โดยกลไกการยับยั้งการสร้างสาร Thromboxane ซึ่งเป็นตัวการทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนและสามารถไปอุดตันหลอดเลือดทำให้ เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี สามารถใช้ในรูปแบบการรับประทาน เช่น ต้มน้ำดื่ม หรือ เป็นส่วนประกอบของอาหาร, นำไปบดใช้ประคบส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดลมบริเวณนั้นได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถใช้เป็นต้มน้ำอุ่นแช่อาบได้ (Ginger Bath) หรือใส่อ่างเล็ก ใช้แช่เท้าในกรณีเท้าบวม เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนเลือด
ตัวอย่างการทำลูกประคบขิง
1. เลือกขิงแก่ จำนวน 300 กรัม นำมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นในเครื่องปั่น หรือขูดฝอย
2. ต้มน้ำเดือด จำนวน 300 ซีซี นำขิงที่ละเอียดแล้วใส่ผ้าขาวบางห่อไว้ จุ่มละลายให้น้ำขิงออกมา
3. บิดขิงในผ้าขาวบางในอ่างน้ำ นำผ้าขนหนูชุบน้ำขิง บิดผ้าเล็กน้อยให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปประคบบริเวณที่ต้องการ
การประคบสมุนไพรร้อน ควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังเป็นพิเศษในส่วนของร่างกายที่มีอาการชาหรือการ รับประสาทสัมผัสร้อนเย็นผิดปกติ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดผิวหนังไหม้
บัวบก: รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล (แคปซูลละ 400 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด คนที่มีปัญหาเรื่องความจำ และความดันโลหิตสูง
ยอ: รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล (แคปซูลละ 400 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร 15 – 30 นาที ช่วยในเรื่องการอยากอาหาร บำรุงร่างกาย
ขมิ้นชัน: รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล (แคปซูลละ 400 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ชาชุมเห็ดเทศ: รับประทานครั้งละ 1-2 ซองชาก่อนนอน ช่วยเรื่องระบาย
ชาดอกคำฝอย ใช้ช่วยในการควบคุมไขมันในเลือด
มะระขี้นก ใช้ช่วยในการควบคุมเบาหวาน
การแพทย์ทางเลือก
การฝังเข็มรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (20)
การฝังเข็มรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสองมีมานานกว่า 2000 ปีแล้ว และมีการค้นคว้าพัฒนามาโดยตลอด โดยเฉพาะในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้เป็นอย่างมากและมี หลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเข็มรักษาตั้งแต่ระยะเฉียบพลันจะสามารถฟื้นฟู สมรรถภาพร่างกายได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการฝังเข็มในด้านการฟื้นตัวของการ ใช้งานแขนขา การเคลื่อนไหว ความสามารถในการทรงตัว การเดิน และคุณภาพชีวิต** องค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (WHO) ได้เห็นศักยภาพในการรักษาโรคนี้ด้วยการฝังเข็ม จึงจัดให้มีการศึกษาและได้รับรองการรักษาด้วยการฝังเข็มมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2522 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2540 สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ NIH ก็ได้ยอมรับเช่นกันว่า การฝังเข็มเป็น “วิธีการรักษาร่วมที่มีประโยชน์” และเป็น “ทางเลือกที่สมเหตุผล” ในการฟื้นฟูความพิการจากโรคอัมพาต
การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปยังจุดฝังเข็มมาตรฐานตามร่างกายและศีรษะโดย เฉลี่ยประมาณ 10 เข็มแล้วคาไว้ประมาณ 20-30นาที (จะกระตุ้นไฟฟ้าหรือไม่ก็ได้) เพื่อกระตุ้นระบบประสาท ระบบฮอร์โมน และปมประสาทอัตโนมัติข้างลำคอตอนบนใกล้ท้ายทอย (Cervical sympathetic ganglion) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมเส้นโลหิตที่ไปหล่อเลี้ยงสมองให้หลอดเลือดขยายหรือหดตัว ให้มีปริมานเลือดไหลเวียนในเส้นเลือดเพียงพอที่สมองต้องการ การกระตุ้นไฟฟ้าด้วยความถี่สูง จะทำให้มีการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัตินี้ ทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว สมองส่วนที่ขาดเลือดก็จะมีเลือดไปเลี้ยงใหม่ รวมทั้งแขนงเส้นโลหิตฝอยจากเส้นอื่นก็จะขยายออก ช่วยพาเลือดอ้อมมาเลี้ยงได้มากขึ้น (collateral circulation) นอกจากนี้การกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อแขน ขา ปากและลิ้น ยังเป็นการป้องกันกล้ามเนื้อลีบจากการขาดเส้นประสาทสั่งการลงมาและอาจช่วย เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรวมทั้งภาวะการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว อาการชา อาการปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น
โดยทั่วไปมีการศึกษาแล้วว่าทำเร็วที่สุดจะได้ผลดีที่สุด ในกรณีหลอดเลือดสมองตีบระยะเวลาที่ยังพอจะได้ผลดีคือไม่เกิน 7-10 วัน ผู้ป่วยที่มาช้า เริ่มทำช้าก็ได้ผลดีลดหลั่นกันไป ส่วนกรณีเส้นโลหิตแตก ควรรอประมาณ 1 สัปดาห์เป็นต้นไปจึงเริ่มฝังเข็ม เพื่อให้ก้อนเลือดในสมองคงที่และสภาพผู้ป่วยพร้อมที่จะทำ โดยทั่วไปจะแบ่งการรักษาเป็นระยะ (course) ระยะหนึ่งมี 10 ครั้ง เมื่อทำครบ 30 ครั้ง อาการมักจะดีที่สุดที่จะเป็นไปได้แล้ว
การฝังเข็มควรมีการประเมินโดยแพทย์ก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะอาการทางสมองและ ภาวะทางอายุรกรรมอื่นๆคงที่ ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ไม่แนะนำให้ทำเป็นกรณีประจำในผู้ป่วยทุกราย อย่างไรก็ดี การใช้ยาแผนปัจจุบัน การทำกายภาพบำบัดและการฝังเข็ม ล้วนแต่เกื้อกูลกัน ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน หากมีการใช้ร่วมกันทั้ง 3 อย่างจะได้ผลดียิ่งขึ้น
อาหารกับการควบคุมและป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (21)
หลักสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่อ้วนเกินไป)
2. ลดปริมาณไขมันที่กินให้น้อยลง ไม่เกินร้อยละ 30 ของประมาณที่ได้รับ
3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ ไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์ หนังสัตว์ และเนื้อสัตว์ที่มีมันติดมาก ๆ เช่น กระดูกหมู หมูสามชั้น และขาหมู
4. เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว(กรดไลโนเลอิค)ปรุงอาหาร เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว
5. ลดการกินอาหารหวาน ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ผลไม้เชื่อม รวมถึงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด
6. เลือกกินอาหารที่มีเส้นใยสูงเพิ่มขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ
7. งดการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดทุกชนิด ใช้เครื่องปรุงเท่าที่จำเป็น
8. เลือกประกอบอาหารด้วยวิธีอบ นึ่ง ย่าง ต้ม แทนการใช้น้ำมันทอด
9. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ตัวอย่างอาหารที่กินได้
- นมจืดพร่องมันเนย นมเปรี้ยวพร่องมันเนยที่ลดปริมาณน้ำตาลลง นมผงที่ไม่มีไขมัน
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา
- อาหารจำพวก แป้ง ข้าว ขนมปัง(ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น ข้าวไม่เกิน 1 จานต่อมื้อ)
- ผักต่าง ๆ รวมถึง ผักพื้นบ้าน
- ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่งสด ชมพู่ แอปเปิ้ล
- ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช(งาดำ งาขาว ลูกเดือย) และถั่วเมล็ดแห้ง(ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง)
- น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารไขมัน/โคเลสเตอรอลสูง
- ครีมเทียม น้ำนมธรรมดาที่ไม่พร่องมันเนย
- อาหารที่ใส่กะทิ (แกงใส่กะทิ ขนมใส่กะทิ)
- ขนมเค้ก คุ้กกี้ ไอศกรีม ช็อคโกแลต
- เนื้อสัตว์ติดมันทุกชนิด เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
- อาหารทะเลบางชนิด(มันกุ้ง หอย ปลาหมึก)
- น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
อาหารหวาน
- น้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำอัดลม
- ขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
- ผลไม้เชื่อม กวน แช่อิ่ม
- ผลไม้ที่มีรสหวานจัด (ทุเรียน ขนุน ละมุด มะขามหวาน ลำไย)
อาหารเค็มหรือมีโซเดียม(เกลือแกง)สูง
- ธัญพืชที่ใส่เกลือ
- ขนมปังที่มีเนย ผงฟู ผงกันบูด และผงชูรส
- อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง
0 ความคิดเห็น: